Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

Infograph วิเคราะห์ 7 เหตุผล อันดับต้นๆ ที่ทำให้คนกลัว E-commerce

6 sec read

คุณกลัวการจ่ายเงินซื้อของ ตอนที่ยังไม่เห็นของ หรือไม่เห็นหน้าคนขายรึเปล่า ถ้าคำตอบคือกลัว คงไม่แปลกครับ เพราะมีคนไม่น้อยไม่ไว้ใจการซื้อของบนอินเตอร์เน็ต แม้ว่าราคาอาจจะถูกกว่าในท้องตลาดอยู่มาก แต่นั่นก็ทำให้ยิ่งบางคนคิดมากขึ้น แทนที่จะดีใจว่าได้ของในราคาถูก ผมคนหนึ่งเคยกลัวการซื้อของผ่านทางอินเตอร์เน็ต และปัจจุบันแม้ว่าจะเข้าใจระบบ Ecommerce มากแค่ไหนสินค้บางประเภทผมก็ไม่ซื้อ ทั้งที่รู้ว่าระบบรักษาความปลอดภัยน่าเชื่อถือแค่ไหน เพราะการ Shopping ของบางอย่างการได้เดินไปเลือกซื้อนั้นตอบโจทย์ความต้องการบางอย่างของมนุษย์มากกว่า แต่สำหรับสินค้าที่ผมเลือกซื้อเป็นสินค้าดิจิตอลทั้งนั้น อย่าง ebook , Application , Theme , การจ่ายเงินเพื่อเข้าสู่ Community Knowledge Base ของเว็บไซต์ชื่อดัง ทีนี้เรามาดูงานวิจัยที่ออกมาเป็น Infograph ชิ้นนี้กันว่าคนส่วนใหญ่กลัวการซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์การที่ตรงไหนกันครับ ฝีมือ Infograph สวยๆ จาก Site Jabber

1. กลัวข้อมูลเครดิตการ์ดถูกขโมย

อันนี้หลายๆ คนกลัวครับและก็มีถามกันเยอะมากครับ ลองเข้าไปดูใน Q&A ของเว็บไซต์ ร้านค้าออนไลน์ชื่อดังได้เลย คำถามท๊อบเท็น แม้ว่าเรื่องของการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตนั้นจะเป็นข่าวให้เราเห็นอยู่บ่อยครั้ง แต่นั่นเป็นส่วนน้อยและเกิดจาก ระบบที่พนักงานเป็นคนดำเนินการตัดบัตรเกือบทั้งหมด แต่สำหรับ ระบบ Ecommerce นั้นถามว่ามีโอกาสมั้ยมีครับ บรรดา Hacker ก็จ้องช่องทางนี้อยู่เหมือนกัน โดยทำหน้าหลอก ให้ใส่ข้อมูลบัตร แต่นั่นมันเหมือนว่าเราเข้าไปเจอคนไม่ดีมากจริงๆ หรือซวย แต่สำหรับปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำของโลกจำนวนมาก ที่ให้บริการเรื่องของการเงิน ออนไลน์ในการเป็นตัวแทนคนกลางในการชำระสินค้า เพื่อความเป็นมาตรฐานและความปลอดภัย อย่าง Paypal แลละ Google Checkout ซึ่งมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ระบบพวกนี้มีระบบคามปลอดภัยสูงและดีมากครับ

2. มันเป็นร้านค้าจำลอง ไม่ใช่ของจริง

เป็นเด็นนี้ก็ท๊อปฮิตครับ และไม่แปลกครับ การที่เป็นร้านค่าจำลองนั้นมุมหนึ่งคือเราไม่ได้เห็นหน้าร้านจริงๆ เพราะคนขายอาจจะทำโกดังสินค้า และจัดการเรื่องต่างๆ ในโรงรถ หรือแค่ห้องนอนใน อพาทเมนต์เท่านั้น การเก็บสินค้าทำให้อาจไม่ได้มาตรฐาน

3. ทางผู้ค้าจะเอาข้อมูลต่างๆ ไปขาย

ความรู้สึกนี้เหมือนๆ กับการเอาข้อมูลเราไปให้คนอื่น หรือถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว ข้อนี้สำหรับผมเองยากในการป้องกันครับ เพราะมันกลายเป็นธุรกิจที่ทำเงินให้กับหลายๆ ธุรกิจ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใหญ่บริการรายนั้นๆ จะมีจริยะธรรมกันมากน้อยแค่ไหน ทุกวันนี้ข้อมูลเราถูกขายอยู่แล้วโดยไม่รู้ตัวแม้ว่าจะไม่ใช้บนออนไลน์ เชื่อสิครับ แค่เราโทรไปสั่ง FastFood ข้อมูลของเราก็ไปซะแล้ว ลงทะเบียนหน้างานต่างๆ

4. ความรู้สึกมันยังบอกไม่ได้เลยว่าชอบสินค้านั้นจริงๆ รึเปล่า

ไม่รู้ว่าชอบสินค้าที่สั่งซื้อมาจริงรึเปล่า อันนนี้ไม่แปลกครับเพราะงานวิจัยหลายชิ้นบอกว่าคนส่วนใหญ่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจซื้อของมากกว่าเหตุผล เพราะฉะนั้นการไม่ได้สัมผัสกับตัวสินค้าโดยตรงนั้น ก็ทำให้เราสงสัยอยู่ดีว่า เราจะชอบสินค้านั้นจริงๆ รึเปล่า แต่ในมุมมองนี้สามารถช่วยได้ด้วย รีวิวสินค้าแบบละเอียดและการให้ข้อมูลคำแนะนำจากผู้ที่เคยใช้ครับ พวกนี้อวยของชิ้นไหน คนก็ตัดสินใจซื้อได้ไม่ยากอยู่แล้ว ถามตัวคุณเองเวลาดู จอร์จกับซาร่า ขายของทางโทรทัศน์ ต้องมีบ้างแหละครับ ว่าในใจเราก็อยากได้สินค้านั้นบ้าง

5. ไม่สามารถติดตามการสั่งซื้อได้

เป็นความกังวลครับ ของคนที่จ่ายเงินไปเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่รู้ว่าขั้นตอนการสั่งซื้อของราจะไปอยู่ตรงไหน เพราะจาก ข้อต่างๆ ข้างต้นก็ไม่แปลกอีกเช่นกัน การไม่มีหน้าร้านจริงๆ ระบบการจัดการที่ไม่ได้มาตรฐาน นั่นก็เป็นความกังวลอีกข้อเช่นกันครับ แต่สำหรับผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ๆ อย่าง Amazon , Walmart ตรงนี้สามารถติดตามได้ เพราะฉะนั้นสำหรับการซื้อกับรายใหญ่ๆ จึงไม่น่ามีปัญหาในข้อนี้

6. ไม่มีคนช่วยแนะนำสินค้า เพราะสินค้าก็ต้องการคำแนะนำจากคนขาย

คนส่วนมากต้องการคำแนะนำ ในการใช้สินค้าเบื้องต้น ยิ่งในอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์แล้วยิ่งต้องการใหญ่ การมีแค่ CallCenter หรือแค่คู่มือการใช้งานก็ไม่เพียงพอ เราจะอุ่นใจกว่าถ้ามีคนมีแนะนำตัวเป็นๆ 🙂

7. ถ้าได้สินค้ามาแล้วไม่ชอบมันยังไงก็ต้องอยู่กับมัน

ระบบการ Return สินค้าไม่ได้มีบริการในทุกผู้ให้บริการ แต่เป็นมาตรฐานที่ตอนนี้ทุกเจ้ากำลังดำเนินการอยู่ครับ ใครไม่มี Return ตอนนี้ก็ถือว่าแย่ครับ เว้นแต่เราซื้อกับรายเล็กๆ จริงๆ

Infograph ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับมุมมองความคิดและ มูลค่าตลาดของฝั่ง USA พร้อม TIP ในการใช้บริการซื้อของผ่านออนไลน์ครับ ดูได้ที่ด้านล่างเลยครับ

คลิกเพื่อดูภาพใหญ่ครับ