Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

ทางออกธุรกิจเพลงดิจิตอล สู่สนามรบบน Search Engine

13 sec read

.เมื่อปลายเดือน ตุลาที่ผ่านมา Google ได้เปิดตัว  Google Music Search Feature ซึ่งเป็นความร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านเพลงออนไลน์ ยักษ์ใหญ่หลายราย อันได้แก่ Lala และ I like ของ Myspace.com รวมถึง iMeem, Phapsody การเปิดตัวครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นช่องทางที่ได้ผลดีทั้งสำหรับ Google เอง และ ผู้ให้บริการดาวโหลดเพลง ที่จะสามรถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพราะหนึ่งในการค้นหาส่วนใหญ่ผ่าน Google นั้นเป็นการค้นหาข้อมูลเพลง มิวสิควิดีโอ ภาพปก เนื้อเพลง  การเปิดตัวบริการใหม่นี้ google จะกลายเป็นหนึ่งใน Promotion Tools ที่ช่วยให้ยอดขายเพลง ดิจิตอล นั้นสูงขึ้น และนี่คงเป็นการจุดประกายสนามรบและการก้าวสู่การแข่งขันธุรกิจเพลงบน Search Engine

RS เผยผลการดำเนินงานในไตรมาสที่3/52  กำไรสุทธิ 52.34 ล้านบาท เป็นผลมาจากการรุกสื่อดิจิตอลที่เติบโตต่อเนื่อง เป็นเรื่องน่ายินดีกับการปรับตัวของธุรกิจเพลงในเมืองไทยกำลังพบทางออกใหม่ หลังจากรับผลกระทบจากภาวะปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เรื้อรังมายาวนาน

ธุรกิจเพลง กับสื่อดิจิตอล ณ เวลานี้เหมือนเป็นทางออกที่ช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต จะเห็นจากรายได้ที่เกิดขึ้นจากช่องทางดิจิตอลนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในประเทศไทยเอง และทั่วโลกและยังมีช่องทางใหม่ๆ ให้ธุรกิจยังเติบโตได้อีกมาก ยอดจำหน่ายเพลงบน iTune เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าเดินมาถูกทาง จนวันนี้ช่องทางดิจิตอลกลายเป็น Promotion Tools อันทรงพลังของวงการเพลงไปซะแล้ว ไม่เฉพาะ iTune เท่านั้นยังมีอีกหลายช่องทางให้ผู้บริโภคได้เข้าไปใช้บริการ อย่าง iMeem, Myspace Music , Rhapsody และอีกมากมาย แม้แต่ในไทยเอง การดาวโหลดเพลงถูกลิขสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์นั้นกำลังเติบโตไม่หยุด อย่าง Pleag.com จาก RS ,You2play.com จาก แพลตตินัม มาร์เก็ตติ้งแอนด์ดิสทริบิวชั่น  ผู้ให้บริการบริหารจัดการดิจิตอลคอนเท้นท์ครบวงจร ,Truemusic.truelife.com จากทรู  ,Gmember และ จากแกรมมี่.
.

.
.
แนวโน้มธุรกิจเพลงถึงก้าวของการแข่งขันยุคใหม่ เมื่อทุกค่ายเพลงต่างก็มีช่องทางการจัดจำหน่ายของตนบนสื่อดิจิตอล การช่วงชิงโอกาสบนโลก Online จึงเข้มข้นขึ้น นอกจากการเข้าไปใช้บริการผ่านหน้าเว็บไซต์ของตนแล้ว การค้นหาผ่านระบบ Search รายใหญ่ อย่าง Yahoo, Bing และ  Google ยังเป็นช่องทางที่สามารถเพิ่มยอดขายช่องทางใหญ่ หากปรากฏอยู่บนผลการค้นหา ยังสามารถต่อยอดนำไปสู่การซื้อได้นั้น ดูเหมือนจะเป็นรายได้ก้อนโตที่ใครๆ ก็ต้องการ เพราะการที่มีผู้คนค้นหารายละเอียดเพลงต่างๆ อยู่ตลอดเวลาบน Search Engine นั้นเป็นโอกาสที่จะสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่คนออนไลน์ทั่วโลกได้ไม่ยาก และเมื่อการฟังเพลงผ่านอุปกรณ์พกพา ที่เป็น SmartPhone ที่มีผู้ใช้งานมากกว่าคอมพิวเตอร์  ระบบการค้นหาเพลง เพื่อจะดาวโหลดเพลงลงบน SmartPhone  คงเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ได้ดีทีเดียว ลดความยุ่งยากจากการที่ต้องเข้าไปใช้บริการเว็บของค่ายใดค่ายหนึ่งเพื่อจะซื้อเพลงที่ยังไม่เจาะจง

ลองจินตนาการผมกำลังอยากฟังเพลง Jazz แต่ยังไม่มีการเจาะจงรายละเอียดถึงศิลปิน ผมเปิดหน้าเว็บเข้าบริการการค้นหาเพลงแล้วพิมพ์คำว่า Jazz เพื่อจะหาเพลงใหม่ๆ ฟัง ศิลปิน คนไหน คือ คนที่ผมจะตกลงปลงใจซื้อ เพราะผมอาจไม่ได้เลือกที่ค่ายเพลง แต่เลือกจากเพลงที่ชื่นชอบ รายการผลลัพธ์ที่ถูกเจอลำดับต้นๆ จึงเป็นคนที่มีโอกาสขายได้จริงมั้ยครับ

.

music-search.

ยังคงต้องรอดูความเคลื่อนไหวของ การเปิดตัวครั้งนี้ เพราะยังมี Bing และ Yahoo Music จาก Microsoft ก็เตรียมเข็นโปรดักส์ชนความเคลื่อนไหวของ Google ครั้งนี้เช่นกัน และหวังว่าจะมีบริการนี้ใน Local Search ของไทยเร็วๆ วงการเพลงไทยคงสามารถขับเคลื่อนธุรกิจดนตรี ให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นได้ครับ

วิดีโอ แสดง Feature ของ Google Music Search

เก็บมารวบรวมไว้ครับ Blog นี้ผมเขียนไว้บน Marketing Oops