Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

ถึงยุคที่ข้อมูลตัดสินความเป็นความตายของคุณได้

10 sec read

ขอยกคำสุนทรพจน์ที่ ทิม คุก พูดในงาน “White House Summit on Cybersecurity and Consumer Protection” ซึ่งงานนี้ทิมคุกให้คำกล่าวที่เน้นย้ำเรื่องข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลที่หากไม่สามารถรักษาความเป็นส่วนตัวไว้ได้หายนะที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเฉพาะธุรกิจเท่านั้นแต่บุคคลนั้นๆ อาจจะเกิดหายนะในวิถีชีวิตที่จะเสียไปก็ได้ เพราะ “เราอยู่ในยุคที่ข้อมูลนั้นตัดสินความเป็นความตายของคนได้”

จั่วหัวไว้ซะน่ากลัวแต่มันเป็นเรื่องใกล้ตัวจริงๆ การที่ ทิม คุก ซีอีโอบริษัท Apple เป็นการพูดอาจเป็นการพูดเพื่อเรียกความเชื่อมั่นหลังจากเกิดเหตุการณ์ภาพเหล่าบรรดาคนดังหลุด จากมือถือที่ใช้งานส่วนตัวแต่ฝากภาพไว้บนบริการ iCloud ที่เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการผลิตภัณฑ์ Apple สามารถเก็บข้อมูล ภาพข้อมูลแอพ รายชื่ออื่นๆ ไว้ นั่นเป็นภาพที่ชัดเจนที่ทุกคนควรตระหนักว่าข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนมือถือที่มีเราเท่านั้นที่เปิดแก้ไข จัดการข้อมูลเหล่านั้นได้ ที่เราเคยเชื่อเช่นนั้นมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป เหมือนที่เราเคยเอากระเป๋าโหลดใต้เครื่องบินโดยใส่กุญแจล๊อกซิบไว้ แต่การขโมยของออกไปจากกระเป๋าทำได้ง่ายๆ แค่เอาปากกาเจาะให้ซิบแตกเอาของออกไปแล้วก็รูดซิบกลับมาอีกครั้งเพื่อให้รอยซิบที่แตกนั้นกลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม ทำลายความเชื่อที่เคยคิดว่าใส่กุญแจล๊อกซิบกระเป๋าเดินทางนั้นปลอดภัยไปเลย

แม้ว่าบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกต่างจะออกมา ยืนยันในเรื่องเทคโนโลยีความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลของตนแต่ก็ยังมีการหลุดข้อมูลออกมาไม่เว้นแม้แต่ข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า มุมมองของเหล่าบริษัทด้านเทคโนโลยีหันเหทิศทางที่ต้องมามองเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลให้สำคัญๆ พอกับการเก็บข้อมูลในยุค Big Data ที่ข้อมูลทวีค่าขึ้นหลายเท่าเมื่อถูกนำมาใช้ในประโยชน์ทางธุรกิจ และทิศทางการจ่ายเงินผ่านระบบดิจิทัลมีแนวโน้มสูงขึ้นตามพฤติกรรมและเทคโนโลยีที่เอื้อสูงสุดในวันนี้

ทิม คุก ไม่ได้พูดในประเด็นของข้อมูลที่ถูกแฮ็กของภาพเหล่าคนดังแต่เป็นการเบี่ยงประเด็นการพูดในการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนในการซื้อสินค้าผ่านระบบ Apple Pay ในทิศทางเรื่องความมั่นคงของระบบ Mobile Payment ที่กำลังเป็นอนาคตเทรนด์เทคโนโลยีใกล้เข้าสู่กระแสหลัก อนาคตเม็ดเงินจากการเพิ่มความแข็งแกร่งให้ Ecosystem ผลิตภัณฑ์ iPhone เข้ากับการชำระเงิน Mobile Payment และ Mobile Commerce นั้นจะเป็นช่องทางรายได้มหาศาลช่องทางใหม่ของ Apple

บริษัทด้านไอทียักษ์ใหญ่ระดับโลกมีหลายบริษัทที่สามารถผลักดันเทรนด์เทคโลโนเข้าสู่กระแสหลักได้โดยการชี้นำและพัฒนาบริการให้เข้าถึงคนหมู่มาก Apple ถือเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่กำหนดทิศทางตลาดทำให้ Mobile Payment เกิดขึ้นได้หลังจากความพยายามจากบริษัทไอทีอื่นๆ อย่าง Google ที่ออก Google Wallet มาหวังจะเอาผู้ใช้มือถือ Android ทั่วโลกมาสร้างฐานบริการการชำระเงินด้วยมือถือมาซักพัก Amazon Paypal ก็เช่นกันต่างพยายามต่อยอดบริการให้ผู้ใช้ลง Application ในสมาร์ทโฟนแล้วจัดการเรื่องการชำระเงินผ่านมือถือได้ แต่การผลักดัน Mobile Payment การทำธุรกรรมผ่านมือถือ ยังอยู่ในวงจำกัดด้วยปัญหาหลากหลายที่ยังทำให้การตอบรับจากผู้ใช้ยังไม่แพร่หลายมาก รวมถึง Ecosystem สภาพแวดล้อมในภาพรวมของการเครือข่ายร้านค้า ความสะดวกสบายและประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับยังไม่ชัดเจน Apple Pay มีจุดแข็งแรงที่ผู้ใช้ iPhone ทั่วโลกที่มาพร้อมข้อมูลบัตรเครดิตที่ติดมาจากบริการ iTunes มากกว่า 800 ล้านใบ เป็นฐานผู้ใช้ตั้งต้นที่ทำให้การต่อยอดบริการ ผลักดันการธุรกิจกรรมผ่านมือถือภายใต้ Apple ง่ายกว่าผู้ให้บริการรายอื่น

บัตรเครดิตเป็นเทคโนโลยีเก่าที่ใช้กันมาช้านาน แต่ในระยะหลังข้อมูลบัตรเเครดิตและการแฮกข้อมูลเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและปัญหาการขโมยข้อมูลการเงินไปทำธุรกรรมทางการเงินเป็นปัญหาที่คาราคาซังยืดเยื้อการพัฒนาระบบให้ดีขึ้นเป็นไปได้ยากเนื่องจากช่องโหว่มีอยู่หลายจุดรวมถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก ตอนนี้เทคโนโลยีบัตรเครดิตเริ่มมีความเคลื่อนไหวที่จะในการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนยีมากขึ้น Visa เตรียมเปลี่ยนการระบุตัวเลขบัตรเครดิต 16 ในการจ่ายเงินออนไลน์หรือผ่านอุปกรณ์พกพาต่างๆ ก็ตาม แถมยังมีการนำข้อมูลพิกัดมือถือของเจ้าของบัตรมาเป็นตัวยืนยันว่าเจ้าของบัตรอยู่ละแวกเดียวกันกับจุดที่จ่ายเงินหรือไม่

ที่ผมพูดถึงเรื่องการชำระเงิน การซื้อสินค้าผ่านมือถือ Mobile Payment รวมถึงข้อมูลความเป็นส่วนตัวอื่นๆ เพื่อให้เห็นว่าคำพูดที่ว่า ข้อมูล ณ ตอนนี้สามารถตัดสินความเป็นความตายของคนได้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ครั้งหนึ่งเราเคยกังวลเรื่องข้อมูลส่วนตัวที่เราแชร์ลงไปบนสื่อสังคมมออนไลน์นั้นอันตรายมากขนาดไหนหากข้อมูลเหล่านั้นตกไปอยู่กับผู้ที่ไม่หวังดี แล้วถ้าเป็นข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของเราล่ะความอันตรายนั้นจะส่งผลกระทบมากมายขนาดไหน เรื่องการโจรกรรมเงินจนหมดบัญชีแบบในหนังฮอลลีวูดอาจเกิดขึ้นให้เห็นในไม่ช้า

ประเทศไทยเรากำลังผลักดัน Thailand Digital Economy การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งก็เริ่มมีให้เห็นและแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้นในเชิงประโยชน์นานับประการ แต่ต้องมองกลับกันว่า ความปลอดภัยด้านการรักษาความลับทางข้อมูลเรามีความปลอดภัยมากน้อยขนาดไหนเพราะไม่ว่าจะข้อมูลตัวเลขภาษี ข้อมูลการยื่นเอกสารต่างที่ปรับจากการยื่นแบบเดิมมาเปลี่ยนรูปแบบดิจิทัล ทำให้เห็นว่าเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยด้านข้อมูล จะกลายเป็นความมั่นคงของชาติ รวมถึงความมั่นคงของบริษัทด้านเทคโนโลยีในยุคข้อมูลมหาศาลที่อยู่ทุกที่รอบตัว

[บทความ โดย นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล ใน CAT Magazine ฉบับที่ 40]