Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

Digital Marketing : ทำความรู้จัก Gamification อีกเครื่องมือที่จะช่วยให้ การทำการตลาดออนไลน์ดีขึ้น

8 sec read


สำหรับเว็บไซต์เองสิ่งสำคัญในตอนนี้คือการที่ต้องนำ Social Machanice มาใช้ร่วมกับเว็บให้ได้มากที่สุด แต่เท่านั้นอาจจะไม่เพียงพอ Gamification จะมาเสริมให้ดีขึ้นไปอีก

ว่าด้วยเรื่องของ Gamification เผอิญได้เข้าไปอ่านเรื่องเกี่ยวกับ Gamification สิ่งที่นักการตลาดออนไลน์ควรรู้ จากเว็บไซต์ Thumbsup ที่ @Mimee เขียน เป็นเรื่องที่กำลังสนใจมาซักระยะครับ เพราะจริงๆ แล้ว Gamification เป็นเทคนิคและกลยุทธ์ในการทำเว็บไซต์ที่มีมานานแล้ว เพียงแต่ว่ามันทวีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่มี Social Media เข้ามาเพราะสามารถสร้างพลังของการแสดงตัวตนได้มากขึ้นผ่าน Social Media

ใน 2 ปีที่ผ่านมา Social Media แย่งชิงเวลาเว็บไซต์ประเภทข่าว ไปอย่างมากเพราะสังคมมันตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานของความเป็นมนุษย์มากกว่า ทำให้คนละเลยเวลาอ่านข้อมูลออนไลน์ไปเข้าสังคมออนไลน์อย่างไม่ต้องสงสัย Gamification เลยกลายเป็นเทคนิคที่นำมาแก้ไขปัญหานี้ได้แม้จะไม่มาก แต่ก็ช่วยได้ดี

blank

Gamification เป็นการสร้างให้ผู้ใช้ติดเว็บมากยิ่งขึ้น และต้องเข้ามาบ่อยๆ ขึ้นหรืออยู่บนเว็บไซต์นานขึ้น โดยมีการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้โดยเป็นการนำเทคนิคของการออกแบบเกมส์ที่เน้นให้ผู้เล่นใช้เวลามากขึ้นเพื่อเอาชนะหรือตอบโจทย์ความต้องการ สัญชาตญาณการแข่งขันทางจิตวิทยา พูดให้เข้าใจง่ายมากขึ้นก็คือ เสมือนเป็นการสร้าง Royalty Program ของเว็บนนั่นเองครับ ซึ่งในจุดนี้เอง ณ ปัจจุบันนี้กลายเป็นเทรนด์ใหม่ของบรรดาเว็บข่าวหรือ กิจกรรม Campaign ที่จำเป็ฯต้องนำกลยุทธมาผนวกเข้ากับ แผนกาตลาดออนไลน์ของ Digital Campaign ต่างๆ เพื่อผลลัพธ์ที่ดี

โดยลักษณะประเภทของ Gamification ที่จะพอยกตัวอย่างได้ชัดๆ เจนมีดังนี้ครับ
1. Badge ป้ายหรือ เหรียญรางวัล
อันนี้น่าจะเห็นได้จาก FourSquare Badge หรือ ในเกมส์ต่างๆ ที่มีการเก็บหรือปลดล็อกไอเท็มพิเศษ สำหรับคนที่สามารถทำ Mission ได้ตามที่กำหนดไว้ ผมว่าหลายๆ คนคงจะได้เห็นคนที่ล่า Badge หรือนักล่า Badge อยู่บ้าตาม Social Media อันนี้เป็นแรงจูงใจที่ดีทีเดียวครับ

2. การนับเวลาถอยหลัง
ลักษณะของการนับเวลาถอยหลังเหล่านี้จะเห็นประจำในเกมส์ทั่วไป แต่สำหรับเว็บไซต์แล้วลักษณะการนับเวลาถอยหลังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้ ต้องรีบทำตามขั้นตอนและเงื่อนไขนั้นๆ เร็วขึ้นจะได้เป็นปกติในเว็บจำพวก Deal หรือ Social Commerch ที่จะสามารซื้อ Deal ได้ในราคาประหยัดในเวลาที่จำกัด หรือจำนวนที่จำกัดนั้นๆ

blank

3. การกำหนดเวลานัดหมาย
ถ้าเป็นกรณีนี้คนไทยหลายคนน่าจะเคยเห็นกรณีของสายการบิน Air Asia ที่จะมีการเปิดให้จองตั๋วเครื่องบินราคาประหยัด ในบางช่วงเวลาเท่านั้นทำให้คนต้องเฝ้าคอย เพื่อเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยลักษณะนี้จะไม่มีการบอกล่วงหน้านานนัก ทำให้เกิดความต้องการและเฝ้ารอคอยบนหน้าเว็บไซต์นั้นๆ หรือกรณีของ @dellOutlet ที่ประกาศขายคอมพิวเตอร์ราคาพิเศษผ่าน Twitter โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าว่าจะลดราคาเวลาเท่าไหร่

4. อันดับคะแนน
อันดับของคะแนนจากการร่วมกิจกรรมต่างๆ เป็นอีกตัวกระตุ้นหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้เกิดการแข่งขันการมากขึ้นครับ โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการแจกรางวัล การใช้อันดับคะแนนในการตัดสินเป็นสิ่งจำเป็น แต่ในอีกมุมหนึ่งก็อาจทำให้ผู้ที่เล่นใหม่เกิดความท้อใจเช่นกัน ในข้อนี้จึงเสมือนเป็นดาบสองคมที่นักการตลาดดิจิทัลต้องคิดให้ดี

ทั้งหมดนี้เป็น อีก 1 วิธีที่นักการตลาดควรนำไปใช้ในการทำกิจกรรมออนไลน์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับกิจกรรมมากขึ้นด้วยครับ