Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

4 สัญญาณบ่งบอกการเป็นพนักงานตกรุ่น

0 sec read

ในวันเวลาที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว และเทคโนโลยีที่ข่วยให้ขีวิตสบาย ส่งผลกระทบกับชีวิตเรามากมายไม่ใช่แค่เรื่องการใช้ขีวิตส่วนตัวเท่านั้นแต่เรื่องการทำงานก็มีผลกระทบกับเราเช่นกัน

ข้อมูลข่าวสารและเครืองมือสารพัดดิจิทัลทำให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นใครใช้ข้อมูลได้เกิดประโยชน์มากกว่า และใช้เครื่องมือได้มีประสิทธิภาพ บริหารจัดการทำงานก็จะทำให้กลายเป็นคนทำงานยุคใหม่ที่ปรับตัวได้อย่างดี ไม่งั้นก็จะตกรุ่นถูกทดแทนด้วยพนักงานรุ่นใหม่ไฟแรงไม่รู้ตัวจากประสบการณ์การทำงานสายดิจิทัลเราอยู่บนเทคโนโลที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว เราจะเห็นคนสองกลุ่มที่ชัดเจนซึ่งน่ากลัวว่าหลายคนไม่ปรัยตัวและตกรุ่นไปมาเช็กดูครับว่าสัญญาณการเป็นพนักงานตกรุ่นมีอะไรบ้าง

1. มีเรื่องใหม่ๆ ที่เราตามไม่ทันมากขึ้น

มีเรื่องใหม่ๆ ในสายงานแต่เราไม่รู้หรือตามไม่ทัน ต้องยอมรับครับว่าข่าวสารเดี๋ยวนี้แค่หลักนาทีก็รู้กันข้ามโลกแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องในกระแส นอกกระแสที่เกี่ยวข้องกับเราหรืองานของเรา มันมีเยอะมากขึ้นจะปล่อยตัวเองจมกับงานแล้วไม่อัพเดทข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมบ้างจะทำให้แนวทางการทำงานอยู่กับกรอบความคิดความรู้เดิมๆ จะทำให้เราทำงานด้วยแนวคิดแบบเก่าเกินไป ลองสังเกตุง่ายๆ คำพูดในประชุมที่คุ้นเรยกำลังกลายเป็นภาษาต่างด้าวที่เราฟังเริ่มไม่เข้าใจ ศัพท์ใหม่ ข่าวใหม่ ที่เราไม่รู้ ก่อนที่เจ้านายและเพื่อนร่วมงานจะคุยคนละภาษากับเรา เปลี่ยนสมาร์ทโฟนที่ใช้โซเชี่ยลมาเสพย์ข่าวให้มากขึ้น

2. ถูกเข้าไปอยู่ในโปรเจ็คน่าเบื่อ

หลายคนอยู่ในองค์กรนั้นมายาวนาน ชีวิตการทำงานกับขีวิตจริงก็ไม่ต่างกันมันมีขาขึ้นก็ต้องมีขาลงเป็นวัฐจักร ลองสังเกตงานที่ได้รับมอบหมายหัวหน้างานเริ่มมอบหมายงานที่ไม่ท้าทายอยู่โปรเจ็คเดิมๆ ทีมงานหน้าเดิม งานโปรเจ็คใหม่ๆ ที่ท้าทายถูกพนักงานหน้าใหม่เข้าไปแทนที่ ผมเห็นหลายครั้งที่มีโครงการที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องมือใหม่ๆ เด็กรุ่นใหม่มักได้โอกาสนั้นเพราะเหตุผลที่ว่าเค้าเข้าใจเทคโนโลยีมากกว่าและมีข้อจำกัดในการเรียนรู้เทคโนโลยีน้อยกว่า คนเดิมๆ เลยมักไม่ถูกมอบหมายงานลักษณะนี้นี่เป็นสัญญาณที่อันตรายที่ต้องปรับตัวโดยด่วน ลดกำแพงลงแล้วลองสิ่งใหม่ๆ

3. เรียกเข้าพบไปขอความคิดเห็นน้อยลง

ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ทำงานทำให้ พนักงานคนนั้นมีความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจ และหัวหน้ามักมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษาโครงการเพื่อขอความคิดเห็นถ้าความถี่ในการขอความคิดเห็นน้อยลง ก็เป็นสัญญาณที่น่าจะบอกได้ว่า ประสบการณ์ที่เรามีกำลังต้องเติมเต็มเพิ่มเติมความเขี่ยวชาญเข้าไปไม่อย่างงั้นจะไม่ทันเด็กๆ ถูกแซงทางโค้งไปได้

4. รับเด็กรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มในตำแหน่งใกล้เคียงกัน

ถ้าผมเป็นฝ่ายบุคคลแล้วพบว่า Learning Curve ของแผนกหรือองค์กรกำลังลดลง สิ่งหนึ่งที่จะทำคือการเทรนนิ่งให้ทีมงานปรับตัวให้สามารถรองรับงานความต้องการใหม่ๆ ได้แต่อีกมุมหนึ่งการเทรนนิ่งอาจจะช้าไป บุคคลก็จะใช้วิธีรับคนรุ่นใหม่เพิ่มมาในตำแหน่งงานที่ใกล้เคียงถ้าดูแล้วมีเด็กอายุน้อยๆ เข้ามาทำตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูงพอสมควรนั่นแหละเรากำลังถูกท้าทายด้วยเด็กรุ่นใหม่อย่างไม่ต้องสงสัย

คนที่ไม่พัฒนาตัวเอง ก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่รอวันตกรุ่น เมื่อมีรุ่นใหม่ที่รุ่นดีกว่าทำงานดีกว่ามีประสิทธิภาพ ในไม่ช้าก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ เป็นพนักงานตกรุ่นที่พร้อมจะโดนโล๊ะทิ้งได้ทุกเมื่อ

ผมเคยรับพนักงานเข้ามาทำงานในบริษัทในตำแหน่ง Senior เพื่อหวังว่าประสบการณ์ในการทำงานจะช่วยให้งานของบริษัทมีประสิทธิภาพ แต่พนักงานคนนั้นทำงานติดกับกรอบเดิมๆ ยึดติดกับตามรู้ประสบการณ์เดิมเกินไป ปิดกั้นความรู้ใหม่ๆ

ประสบการณ์การทำงานเป็นสิ่งที่สำคัญ การทำงานในตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูงๆ จึงต้องอาศัยคนที่มีประสบการณ์มาทำงาน แต่ข่าวสารในยุคปัจจุบันเสมือนเป็นอาวุธให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกันได้เท่าเทียม ในฐานะคนทำงานยุคดิจิทัลเลยต้องพัฒนาสองอย่างนี้ไปพร้อมกันๆ ความรู้ ข่าวสาร ประสบการณ์และความสามารถจะทำให้ กลายเป็นบุคคลากรที่ใครก็ต้องการ ครับ