Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

Consumer Trust Crysis เมื่อความน่าเชื่อถือ ‘โฆษณาแบบเดิม’ ลดลงถึงขีดสุด

9 sec read

Digital Content Overload ทำให้ อินเทอร์เน็ต เป็นโลกแห่งข้อมูลมหาศาลที่ไม่สามารถจินตนาการจำนวนข้อมูลทั้งหมดได้

จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค 86% ของผู้บริโภคยุคนี้ “ไม่เชื่อในคำโฆษณา” หรือคำพูดของแบรนด์ที่พูดถึงสินค้าและบริการของตน แต่ 78% กลับเชื่อการให้ข้อมูลสินค้า ความคิดเห็นจากผู้บริโภคอื่นๆ มากกว่า แบรนด์ นั่นหมายถึง คำพูดของแบรนด์ มีน้ำหนักไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจซื้อ ของผู้บริโภคยุคใหม่ แบรนด์ต้องกลับมาถามตัวเองว่า โฆษณาเดิม ไม่สามารถจูงใจซื้อได้มากพอ อาจนำไปสู่ วิกฤติ Consumer Trust ที่ลดลง แล้วจะทำอย่างไร

พลังของการบอกต่อ Word of Mouth Marketing การรีวิวสินค้า จากการใช้ “ผู้มีอิทธิพลทางด้านความคิดบนช่องทางออนไลน์” แม้แต่กระทั่ง ความคิดเห็นจากผู้ใช้จริงๆ กำลังกลายเป็นแรงจูงใจสำคัญในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด จึงไม่แปลกที่จะได้ยินคำว่า Influencer หรือ กูรู บ่อยครั้งในการโฆษณาบนช่องทางออนไลน์ยุคนี้ และจะมีความสำคัญเช่นนี้ไปอีกหลายปี

ผมว่าหลายคนคงเคยได้อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับการตลาดช่องทางนี้มาบ้างแล้ว แต่ที่ผมหยิบยกกลับมาพูดอีกครั้ง นั่นเพราะว่าแนวโน้มนี้ยังไม่เคยลดลง

วิกฤติ Consumer Trust ในการทำโฆษณารูปแบบเดิม Traditional Media Ads ช่องทางเดียวไม่เพียงพอ ในการนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ กับเม็ดเงินในการโฆษณา ประสิทธิภาพมีทิศทางที่สวนทางกัน

รายงานล่าสุดของ AC Nielson เกี่ยวกับการสำรวจความคิดเห็นเรื่องความน่าเชื่อถือของโฆษณาช่องทางต่างๆ เห็นชัดว่า Social Media และ UGC (User Generated Content) กลายเป็นพระเอกช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าในปัจจุบัน และสื่อเก่า อย่าง โทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และวิทยุ ความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภคคิดเป็น 47% , 46% , 42% ตามลำดับซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับการสำรวจในปี 2009 สื่อโทรทัศน์ลดลง 24% นิตยสาร ลดลง 20% และหนังสือพิมพ์ลดลง 25%

ผู้ บริโภคเชื่อคำแนะนำจากบุคคลที่รู้จักมากที่สุด 92% และข้อมูลความคิดเห็นจากผู้บริโภคคนอื่นๆ ในช่องทางออนไลน์สูงถึง 70%

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว สิ่งสำคัญในการโฆษณาจะจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ Traditional Media และ Digital Media สอดประสานร่วมกัน ในการนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ โดยใช้ Traditional เพื่อสร้าง Awareness และใช้สื่อ Digital เน้นสร้าง Consumer Opinions เพื่อสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อ เสริมเข้าไปเมื่อผู้บริโภคกำลัง Consider ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และตัดสินใจซื้อในที่สุด Content Marketing + Influencial Marketing กลายเป็นเครื่องมือที่มองข้ามไม่ได้ ในแผนกลยุทธ์ปัจจุบัน

ถ้าจะพูดถึงในรายละเอียดวิธีในการใช้ ผู้ทรงอิทธิพล เพื่อเป็นบุคคลที่ช่วยสร้างเนื้อหาที่สนับสนุนสินค้า ในช่องทางต่างๆ นั้นมีรายละเอียดที่นักการตลาดจะต้องคำนึงถึงหลายข้อ ตัวอย่างข้อจำกัดในเรื่องการพูดถึงสินค้า การแสดงออกในมุมต่างๆ ของ Influencer หรือการบริหารช่องทาง Social Media ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเมื่อมีแบรนด์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว จำนวน Fans, Followers อาจจะไม่ใช้เหตุผลเดียวที่จะประกอบการเลือก

แต่สำคัญ ก็คือ ควรเลี่ยง การโฆษณาอย่างโจ่งแจ้ง ในการแสดงความคิดเห็นมากเกินไป จะเป็นผลเสีย และทำให้การทำ Influencial Marketing มีผลลัพธ์ที่ด้อยลง การโฆษณาในส่วนนี้จึงต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ ในการนำเสนอเนื้อหา ที่ทำให้มีส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อ และให้ความรู้กับผู้บริโภคไปพร้อมๆ กัน

โอกาสหน้าจะได้พูดถึง จะเลือกใช้ Influencer ที่ดีได้อย่างไรกันครับ