Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

ไปดูมาแล้ว Toy Story 3 ความผูกพัน ที่ต้องเปลี่ยนผันผ่านตามกาลเวลา

6 sec read

ขอบคุณ Pixar ที่สร้างจิตนากานและแรงบันดาลใจให้กับโลกใบนี้ คำนิยามสำหรับผมในการได้ชม หนังเรื่องนี้ที่ชัดเจนมากในหัวคือ เป็นหนัง 3D Animation ที่สื่อสารความรู้สึกแบบมนุษย์ได้ดีที่สุดเล่าเรื่องผ่านมุมมองของของเล่น(Toys) และล่าสุดได้กลายเป็นหนังที่สามารถสร้างรายได้ทะลุหลัก 1 พันล้านแล้ว ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งหนัง Animation ที่ทำรายได้สูงสุด 🙂

ยิ่งนับวันโจทย์ของ Pixar ยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ และพิกซาร์ก็ทำลายกำแพงบางอย่างในการทำหนัง Animation ออกไปได้เรื่อยๆ เช่นกัน ทอยสตอรี่ก้าวมาถึงภาคที่สาม จากการเริ่มต้นเป็นหนัง 3D Animation ที่เปลี่ยนโลกของวงการภาพยนตร์การ์ตูน กับการเป็นภาพยนตร์ 3D Animation เรื่องแรกของโลกกลายเป็นหนังที่อยู่ในใจของเด็กๆ นับล้านทั่วโลก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การหยิบหนังเรื่องที่เคยสร้างผ่านมา 10 กว่าปี กลับมาปัดฝุ่นใหม่นั้นคือความท้าทายที่มีนัยยะ ของทีมงานพัฒนา เพราะนั่นหมายถึงเอาหนังตำนานมาทำภาคต่อ รอยเท้าที่เคยวัดจะต้องใหญ่ขึ้นแน่นอน เหมือนที่ผมพูดไว้ข้างต้น Pixar เริ่มทลายขีดจำกัดของการสื่อสารอารมณ์ ผ่านตัวละคร ที่ไม่ใช้ตัวละครที่เป็นคนแสดง แต่ก็สามารถสื่อสารอารมณ์ของบทและความรู้สึกออกมาได้อย่างไม่มีที่ติ นั่นคือความพยายามของ Pixar ที่วันนี้มันเริ่มจะเห็นชัดขึ้น ถ้าเราย้อนไปมองภาพยนตร์เรื่องที่ผ่านมาของ Pixar เรื่อง “Wall-E” เรื่องของหุ่นยนตร์เก็บขยะตัวเดียวในโลก กับเพื่อนแมลงสาบที่ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้มวลมนุษยชาติได้ หลายคนที่เคยดูคงได้เห็นความตั้งใจของทางพิกซาร์ที่อยากจะแสดงให้โลกเห็น แม้แต่ Animation ที่ไม่มีบทพูดก็สามารถถ่ายทอดความรู้สึกได้ ผ่านสีหน้าและท่าทางในแบบ Animation และทำให้เราอินและเข้าใจอารมณ์ที่ส่งมาได้และส่งอารมณ์ของคนดูไปถึงจุดที่ฝันไว้ได้อย่างตั้งใจ แต่เมื่อมาเป็นเรื่องนี้ เมื่อการสื่ออารมณ์ผ่านท่าทางบวกบทพูดและเรื่องราวที่ส่งมานั่นมันสุดยอดจริงๆ ทำให้เรารับรู้ได้ ถึงความรักของตัวละครจริงๆ มหัศจรรย์มากๆ ครับ

blank

จาก Blog ก่อนหน้านี้ที่ผมได้พพูดถึงการเพิ่มเข้ามาของตัวละครใหม่ถึง 14 ตัว (คลิกอ่านบล็อกเก่า) นั้นย่อมมีความนัยแฝงอยู่แน่นอน แต่พอได้ดูแล้วก็รู้ถึงวัตถุประสงค์ของการเพิ่มตัวละครเข้ามาแล้ว “เรื่องที่เข้มข้นขึ้นเหตุผลของตัวละครหน้าใหม่” ความท้าทายของเพิ่มตัวครในครั้งนี้ หมายถึงความเข้มข้นของเรื่องที่ จะช่วยส่งอารมณ์ความเข้มข้นไปได้ การเปิดตัว จอมวายร้ายที่น่ากอดท๊่สุด + น้องหนู และเพื่อนใหม่ที่จะเป็นตัวเชื่อมส่งต่อบทบาทใหม่ของเรื่องราวในภาคต่อๆ ไป

ประเด็นของหนังผมว่าสามารถสื่อสารได้ดีเหมาะมากกับการให้เด็กๆ ได้ชม รวมถึงพ่อแม่ด้วย หนังพยายามสื่อสาร ความรักของความเป็นครอบครัว ซึ่งมีอยู่รอบตัวไม่เว้นแม้กระทั่งของเล่น เด็กได้ดูคงรักของเล่นเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย ฉากหนึ่งที่ทำให้เราสะเทือนใจที่สุด และส่งให้เรื่องพีคขึ้นไปปรี้ดที่สุดคือ ฉากท้ายในเตาหลอมที่ทุกคนจับมือ เป็นฉากที่ผมยังจำได้เป็นอย่างดี เป็นฉากที่เรื่องพาทุกตัวละหลักมาสู่ทางที่ไม่สามารถหันหลังกลับไปได้ จนเริ่มถอดใจและสิ้นหวัง ทุกคนก็พร้อมและภูมิใจที่จะไปด้วยกัน ทำเอาน้ำตาคลอรอบแรก

บทสรุปครอบครัวใหม่ ดูมาถึงเกือบจะปลายเรื่องยังเดาเรื่องไม่ออกว่า บทจะมาแบบนี้คือการย้ายครอบครัวของเล่นไปยังครอบครัวใหม่ ส่งต่อความผูกพัน ของ Andy ไปยัง Bennie นี่คือการเริ่มต้นความท้าทายใหม่ของ Toy Story 4 รอดูปีหน้ากับ Toy Story 4 ที่จะมาฉายปะหน้าเรื่อง Cars 2

วู้ดดี้ผู้ไม่เคยสิ้นหวัง

blank
เก็บมาฝาก Groovin’ with Ken! แนะนำนายเคน

อีกนิดนึง ในเรื่องที่บ้านของ น้องหนูเบนนี่ มี Totoro โผล่มาให้เห็นด้วย โตโตโร่กลายมาเป็นดารารับเชิญสำหรับภาคนี้ เป็นความชื่นชอบส่วนตัวของผู้สร้าง และความสนิทสนมกับ คุณ ฮายาโอะ ผู้กำกับ ( My Neighbor Totoro, 1988)
blank