Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

สำรวจอิทธิพล การค้นหาผ่าน มือถือ อุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

7 sec read


กระแสการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device)เริ่มมาได้ระยะหนึ่งและแพร่หลายอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจำนวนผู้เสิร์ชอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญดังนี้

จากผลการวิเคราะห์ของ Adobe® Digital Index โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากการเยี่ยมชม (visit) เว็บไซต์จำนวน 2,500,000,000 ครั้ง และจากเว็บไซต์มากกว่า 125 เว็บไซต์ในกลุ่ม ธุรกิจการเงิน ธุรกิจสื่อค้าปลีกและการท่องเที่ยว พบว่า

1. การเพิ่มขึ้นของการท่องและการเสิร์ชข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตโดยอุปกรณ์โมบายล์จะทำให้สินค้าและแบรนด์ต่างๆ ต้องพึ่งการใช้เสิร์ชจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) มากกว่าจากพีซี

2. คุณภาพของทราฟฟิคจากการเสิร์ชข้อมูลผ่านอุปกรณ์โมบายล์มีความหลากหลายตามลักษณะภูมิประเทศและเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ใช้ ในภาพรวม Google เป็นเสิร์ชเอ็นจิ้นที่มีการใช้งานมากที่สุดขณะที่ Bing®, และเสิร์ชเอ็นจิ้นท้องถิ่นอาทิ Baidu® (China) and Naver® (South Korea)เป็นเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ได้กลุ่มเป้าหมายท้องถิ่นที่มีคุณค่ากับแบรนด์มากกว่า

3. สิ่งที่ขับเคลื่อนสัดส่วนการใช้กูเกิลในการเสิร์ชไม่ได้มาจากการเติบโตของอุปกรณ์ที่ใช้แอนดรอยด์แต่เป็นการกำหนดให้เป็นเสิร์ชเอ็นจิ้นที่ต้องใช้บนสมาร์ทโฟน

4. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้ารวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ๆอาจจะทำให้มาร์เก็ตแชร์ของผู้นำเสิร์ชเอ็นจิ้นในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป

นักการตลาดยุดดิจิตอลในภูมิภาคนี้ควรสร้างความมั่นใจว่าเขาได้ลงทุนด้านการตลาดด้านการเสิร์ชและพร้อมเสมอกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ด้วยการพัฒนากลยุทธ์ด้านโมบายล์ที่เหมาะกับท้องถิ่นและตรงกับความเป็นจริงให้มากทึ่สุด

อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ (Mobile Internet) เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคภูมิภาคนี้เป็นผู้นำของโลกในการนำเข้าโทรศัพท์มือถือหลายปีอย่างต่อเนื่องและคาดการณ์ว่าจะมียอดการนำเข้าโทรศัพท์มือถือใหม่เป็นครึ่งหนึ่งของยอดนำเข้าทั่วโลกในปี พ.ศ. 2555 และ 2556 ยิ่งไปกว่านั้น ภูมิภาคนี้ยังมียอดการนำเข้าอุปกรณ์แท็บเล็ตเป็นอันดับสองของโลก หรือมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของยอดการนำเข้าทั่วโลกต่อไตรมาส

รายงาน Adobe Digital Index report ฉบับเดือนพฤษภาคม 2555 หัวข้อ “แท็บเล็ตมีบทบาทอย่างไรในการขับเคลื่อนแบรนด์บนเว็บไซต์” คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2557 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะมาจากการใช้งานแท็บเล็ตและมากกว่า 8 เปอร์เซ็นต์จะมาจากการใช้สมาร์ทโฟนถึงแม้ว่าการรุกคืบของโมบายล์เทคโนโลยีจะแตกต่างกันไปแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้ แต่โมบายล์เสิร์ชกลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมหาศาลผ่านโมบายล์โฟนและแท็บเล็ต ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์และได้รับการพัฒนาในการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ทันสมัยขึ้น ดังนั้นโอกาสที่จะเข้าถึงผู้ใช้งานผ่านโมบายล์เสิร์ชจะกลายเป็นภารกิจที่สำคัญของนักการตลาดทีเดียว

ปริมาณการใช้โมบายล์เสิร์ชที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้มีผลต่อภูมิภาคอย่างมากในหลายประเด็นผู้ใช้งานในภูมิภาคนี้มีโอกาสและต้องการใช้โมบายล์เสิร์ชมากกว่าเพราะการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนระยะเวลาในการเดินทางที่นานขึ้น และการใช้เวลานอกบ้านที่เพิ่มขึ้นนอกจากนั้นแล้วจำนวนผู้ใช้พีซีที่ลดลงทำให้อุปกรณ์โมบายล์เป็นเป้าหมายหลักหรือเป็นเป้าหมายเดียวในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

1. เพื่อตรวจสอบโอกาสทางธุรกิจของโมบายล์เสิร์ชในภูมิภาคนี้ Adobe Digital Index วิเคราะห์ข้อมูลจากการ เยี่ยมชมเว็บไซต์จำนวน 2.5 พันล้านครั้ง ผ่านเว็บไซต์กว่า 125 เว็บไซต์ ในกลุ่มการเงิน การสื่อสาร การค้าปลีก และท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 30 มิถุนายน 2555 โมบายล์เสิร์ชเป็นกิจกรรมที่เกิดจากความตั้งใจในการค้นหา ดังนั้น นักการตลาดต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากการสื่อสารให้มากที่สุด เพราะรายได้หรือจำนวนโฆษณาที่เกิดขึ้นจากการเยี่ยมชมเว็บไซต์มีความสำคัญกับนักการตลาดดิจิตอล นัยยะสำคัญสำหรับนักการตลาดดิจิตอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

จากผลการศึกษา นัยยะสำคัญ 4 ประการที่จะทำให้แบรนด์สามารถปรับปรุงการให้บริการและกระตุ้นยอดขายผ่านการเสิร์ชในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีดังนี้

1. เนื่องจากจำนวนผู้เข้าเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์โมบายล์เพิ่มขึ้น ปริมาณการเสิร์ชก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญการเพิ่มประสิทธิภาพโปรแกรมที่จะกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าผ่านโมบายล์เสิร์ชเป็นสิ่งจำเป็นโดยแยกการเสิร์ชผ่านพีซี

2. การสร้างความต่าง กลยุทธ์เฉพาะในแต่ละประเทศเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งการรุกคืบของโมบายล์เสิร์ชและความต้องการอุปกรณ์ต่างๆ มีความแตกต่างในแต่ละประเทศและในแต่ละอุตสาหกรรมทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้อาจเผชิญความยากต่อการนำไปใช้อย่างเหมาะสมนักการตลาดสามารถเพิ่มปริมาณทราฟฟิกในการเสิร์ชและการซื้อขายผ่านโมบายล์ด้วยการผนวกรวมกลยุทธ์เฉพาะแต่ละประเทศ และกลยุทธ์ที่เหมาะสมของแต่ละอุปกรณ์สื่อสารในการเสิร์ช (Search Engine Marketing) รวมถึงการพิจารณาใช้เสิร์ชท้องถิ่นอาทิ Naver และ Baidu

3. การตรวจสอบคุณภาพทราฟฟิคจะช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ในการเสิร์ช ผลลัพธ์ที่สำคัญจาก Bounce Rate (ตัวเลขที่บ่งบอกเปอร์เซ็นของคนที่เข้าเว็บหน้านั้นๆ แล้วออกไปเลยทันทีโดยไม่มีการคลิกลิงค์ต่อไปยังหน้าใดๆ) ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศและแต่ละประเภทอุตสาหกรรมบ่งบอกว่านักการตลาดควรระบุและ track เมตริกซ์ที่สำคัญเช่น การตีกลับ การเปลี่ยนรูป (conversion) รายได้จากการ visit ในแต่ละครั้งเวลาที่ใช้ต่อเว็บไซต์หรือ Page แต่ละครั้ง เพื่อสร้างทราฟฟิกของเสิร์ชเอนจิ้นอย่างเหมาะสม

4. นักการตลาดควรตรวจสอบกลยุทธ์การตลาดด้านการเสิร์ชอย่างสม่ำเสมอเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีและกลยุทธ์หลักอาจทำให้ต้องปรั ตัวอย่างรวดเร็ว

บทสรุป
ปริมาณการเสิร์ชมหาศาลผ่านอุปกรณ์โมบายล์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมกับความซับซ้อนและการขับเคลื่อนของโมบายล์เสิร์ช ทำให้แบรนด์สินค้าต่างๆ
จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมในแต่ละประเทศที่แบรนด์นั้นๆ เข้าไปทำธุรกิจพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ในขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าเสิร์ชเอ็นจิ้นใดจะเหมาะกับภูมิภาคนี้ในอนาคต

2. การติดตามความเคลื่อนไหวที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและการทำความเข้าใจเทรนด์ต่างๆ นั้นทำให้นักการตลาดดิจิตอลสามารถสร้างเว็บไซต์ที่เหมาะสมรวมถึงสร้างทราฟฟิคที่เกิดจากการเสิร์ชให้ได้มากที่สุดเช่นกัน