Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

รู้ก่อนใช้ Alipay โอกาสของค้าปลีก

16 sec read

เทคโนโลยีด้านทำธุรกรรมกำลังมาแรง เราได้ยินบ่อยๆ ในข่าวเทคโนโลยีหรือสื่อทั่วไปว่า Fintech ซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นกับธุรกิจทั่วโลกเพราะช่องว่างความไม่มีประสิทธิภาพและความไม่คล่องตัวของรูปแบบการทำธุรกรรมที่เราเคยสัมผัสมาตั้งแต่เด็กๆซึ่งในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อระบบการเงินธนาคารในหลายแง่มุมธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวในความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคดิจิทัล

เมื่อพูดPayPalผมว่าเราทุกคนคงรู้จัก กันมายาวนาน ให้บริการตัวกลางในการชำระเงินโลกดิจิทัล จุดเด่นในเรื่องของความปลอดภัยในระบบข้อมูล นโยบายคุ้มครองผู้ซื้อและผู้ขาย รวมถึงการทำธุรกรรมข้ามประเทศได้อย่างง่ายดาย ซึ่งตอบโจทย์คนดิจิทัล ได้ความสบายใจและสามารถชำระเงินได้ทั่วโลก (Crossborder Payment Solution) การทำธุรกรรมไม่มีขอบเขตอีกต่อไป และดาวรุ่งพุ่งแรงที่เราเริ่มได้ยินชื่อเข้ามาหนาหูมากในช่วงนี้ Alipay เค้าเป็นใครและน่าสนใจอย่างไร ผมขอพูดถึง Alipay เสมือน Paypal เวอร์ชั่นจีนที่ยิ่งใหญ่ไม่กัน ให้ฟังกันครับ

Screen Shot 2559-09-23 at 1.16.39 PM Screen Shot 2559-09-23 at 1.16.01 PM

Alipay กับ Tencent Pay หรือ TenPay ในประเทศจีนอยู่ภายใต้บริษัท Tencent ซึ่งถือเป็นบริษัทอินเตอร์เน็ตที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศจีน เจ้าของบริการยอดนิยมหลายต่อหลายตัวเช่น QQ QZone WeChat มีเครือข่ายผู้ใช้งานสูงที่สุด ซึ่งทำให้หลายต่อหลายครั้ง Alipay เลยมักจะถูกเปรียบเทียบกับ TenPay บริการธุรกรรมการเงินเช่นเดียวกับ Alipay หรือบ้างครั้งอาจจะถูกพูดถึงในชื่อ WeChat Pay ซึ่งมีจุดเด่นและจุดแข่งต่างกันที่ค่อนข้างชัดเจนครับ เพราะเนื่องด้วย Alipay อยู่ภายใต้บริษัทที่เชี่ยวชาญในธุรกิจ Ecommerce กิจกรรมในการใช้งานเลยเป็นการซื้อขายสินค้า การชำระเงิน และต่อยอดบริการในการจ่ายเงินในโลก Online to Offline หลายบริการ ทำให้เป็นที่นิยมอย่างสูงกับผู้ใช้จำนวนมาก สำหรับ TenPay หรือ WeChat Pay อาจจะทำได้เช่นเดียวกับ Alipay ในหลายๆ กรณีแต่จุดที่แข็งแรงมากที่สุดคือ บริการการโอนเงินหากันในกลุ่มผู้ใช้งานบริการ Tencent Services แน่นอนว่า WeChat เป็นส่วนสำคัญให้คนจีนสามารถส่งเงินระหว่างเพื่อนๆ ได้สะดวกและง่าย (Peer to Peer Transfers) และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า

Alipay กับ TenPay ถ้ามาดูความเป็นมาอาจจะเป็นคู่เทียบที่เหมือนจะไม่ค่อยสมน้ำเนื้อมากนัก (ในมุม Payment Solutions) แต่เมื่อเทียบกับการเติบโตในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปี TenPay เติบโตได้น่าสนใจ Alipay ก่อตั้งในปี 2004 ส่วน TenPay ก่อตั้งในปี 2013 กินส่วนแบ่งในตลาด ~20.1% ส่วน Alipay กินส่วนแบ่ง ~43.3%  (Q1 2016) ทั้งคู่เป็นโอกาสในการทำธุรกิจกับนักช้อปและ นักท่องเที่ยวชาวจีน Alipay เลยมีความสำคัญมาก และกำลังมุ่งขยายธุรกิจไปในหลายประเทศรวมถึงการมาของประเทศไทย (Cross-border Payment Solutions) ในวันที่นักท่องเที่ยวจีนนำเงินเข้าประเทศมหาศาล เป็นโอกาสที่ต้องกระโจนเข้าร่วม เห็นรายชื่อพันธมิตรในประเทศที่จับมือ True Money, Counter Service, ธนาคารกสิกรไทย, บัตรกรุงไทย KTC, เพย์สบาย ทำให้ยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีก

Screen Shot 2559-09-23 at 1.16.23 PM

Screen Shot 2559-09-23 at 1.15.47 PM

คนจีนชอบ Alipay เพราะสบายและทำได้เยอะ (Integrated Services) การที่เปิดมาก่อนทำมายาวนานแถมอยู่ภายใต้ Alibaba ทำให้พันธมิตรในจีนต่างเข้าร่วมนำ Alipay ไปใช้เว็บ Ecommerce ขนาดใหญ่ที่สุดของจีนอย่าง Tmall หรือ Taobao และเว็บซื้อขายออนไลน์ของจีนจำนวนมากเลือก Alipay เป็นช่องทางชำระเงินเพียงเจ้าเดียว นั่นทำให้คนจีนเกือบค่อนประเทศต้องมี Alipay ติดมือถือไว้พร้อมเตรียมเงินในระบบไว้ให้พร้อมใช้ตลอดเวลา ไว้จ่ายบิลค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค เติมเงินมือถือ ซื้อของออนไลน์ หรือใช้สิทธิพิเศษซื้อของในร้านค้าออฟไลน์ แม้กระทั่งใช้ในการดูเงินคงเหลือในบัญชีธนาคาร หรือซื้อตั๋วรถเมล์ ขนส่งมวลชนได้อย่างง่ายๆ

สถิติที่น่าสนใจของ Alipay

  1. มีธุรกรรมการเงินมากกว่า 80 ล้าน Transaction ต่อวัน
  2. กวางตุ้งเป็นเมืองที่มีการใช้ Alipay สูงสุด แต่ถ้าแยะ
  3. จำนวนผู้ใช้ต่อเดือน MAUs 270 ล้านคนต่อเดือน

Screen Shot 2559-09-23 at 1.16.31 PM

Crossborder Payment Solution  ทำให้เราเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลกและ คนทั่วโลกจ่ายเงินได้ง่ายขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจยุค Digital ลูกค้าต้องการทางเลือกที่ง่ายและสะดวก ผ่านมือถือสมาร์ทโฟน  วันนี้ Alipay พยายามขยายไปทั่วโลก มุ่งไปที่ประเทศที่คนจีนไปไหนก็ตามไปที่นั่น ถ้าเราทำธุรกิจกับลูกค้าจีน รู้จัก Alipay กันมากขึ้นแล้วถึงเวลาติด Alipay QR ไว้ที่หน้าร้านได้แล้วครับ

บทความนี้ถูกเขียนขึ้นใน นสพ. กรุงเทพธุรกิจ