Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

Insights น่าคิดจากไปนั่งคุยกับกลุ่มวัยรุ่นไทย ยุคดิจิทัล

13 sec read

ช่วงหลังผมมีโอกาสได้เข้าไปคลุกคลีกับผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มวัยรุ่น มัธยมปลาย ไปจนถึงมหาลัย ซึ่งแน่นอนครับว่า ในความเข้าใจภาพรวมๆ เราจะเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม เทคโนโลยี Savvy ใช้เทคโนโลยีเก่ง มีไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตที่สนุกสนาน ชอบ Selfie และดูวิดีโอ YouTube มี Net Idol ที่ชื่นชอบ โดยเฉพาะกลุ่มเกาหลี เด็กวัยรุ่นส่วนมากโดยเฉพาะหัวเมืองมักจะต้องเป็นติ่ง ดารานักร้องเกาหลี ไม่วงใดก็วงหนึ่งแบบยอมเก็บเงินเพื่อซื้อตั๋วคอนเสิร์ต นี่อาจจะเป็นการอนุมานจากการเห็นรับรู้จากสื่อ และรอบๆ ตัวของเราซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากงานวิจัย ซึ่งก็ถูกต้องครับผมใช้อ้างอิงบ่อยครั้ง และมักพูดถึง Digital Native ผู้บริโภคสัญชาติดิจิทัล หรือรวมไปในกลุ่ม Gen C (Conected Generation)

ผมทำการวิจัยอยู่สองแบบโดยทั่วไป ส่วนหนึ่งคือการดูงานวิจัยที่มีข้อสรุปมาอยู่แล้วถึงภาพรวมพฤติกรรม Insights แต่อีกส่วนที่หนึ่งที่ลงไปทำ ก็คือ การลงไปนั่งพูดคุยคลุกคลีกับกลุ่มเป้าหมายเดินไปหาเขา (ไม่ใช่การ Focus Group) เป็นการไปนั่งฟังเสียงของผู้บริโภค ทำให้ผมรู้อะไรหลายอย่างที่น่าสนใจ ผมอยากเอามาแชร์ให้ฟังเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เราจะไม่เห็นในงานวิจัยแต่มีผลกระทบจริงๆ ในการวางแผนงานการตลาดให้ตรงใจได้เด็กสมัยใหม่มากขึ้น

เข้าเว็บไหนประจำบ้าง

เด็กๆ ไม่ได้เข้าเว็บแล้วถ้าไม่เจอแชร์มาใน Feed Timeline หรือเพื่อนส่งมาให้ผ่าน Chat ไม่นับการค้นหา Google เพื่อทำรายงาน เด็กมัธยมหลายคนตอนที่ผมเข้าไปนั่งพูดคุยพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เข้าเว็บ หรือเข้าเมื่อจำเป็นเท่านั้น เมื่อครั้งผมถามว่าเว็บที่เข้าบ่อยๆ มีอะไรบ้างเด็กส่วนมากใช้เวลาคิดมาก สุดท้ายก็จะตอบว่า YouTube Google Facebook และตามมาด้วยการบอกว่าแต่ส่วนใหญ่ก็ใช้ App มากกว่าอยู่ดี น้องๆ บางคนถึงกับบอกว่าพี่ไม่ต้องทำเว็บก็ได้ ไม่ค่อยได้เข้าแล้ว เข้าแอพใช้งานผ่านมือถือง่ายกว่า

ชอบและไม่ชอบ Selfie ชัดเจน

เรามักเข้าใจว่าวัยรุ่นชอบ Selfie ใช่มั้ยครับ แต่เอาเข้าจริงๆ เด็กๆ จะแบ่งสองกลุ่มชัดเจนคือ ชอบ Selfie ไปเลยและไม่ถ่ายรูปตัวเองเลย เด็กส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบเพราะว่าไม่มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากพอที่จะแชร์ ไม่จำเป็นต้องแชร์อะไรออก Social เน้นแชทกันในกลุ่มเพื่อนๆ มากกว่า การใช้ Social ของเด็กกลุ่มนี้มักมีไว้ส่องเพื่อนๆ บ่นๆ แสดงสเตตัสความรู้สึกส่วนตัว หรือติดตามดาราที่พวกเค้าชื่นชอบเท่านั้น ซึ่งกลุ่มเด็กไม่ Selfie นั้นมีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

Line น่าเบื่อ

ผมว่าทุกคนคงเห็นโฆษณา Chat App เยอะแยะที่โฆษณา รวมถึง Tie-In ในซีรี่ย์วัยรุ่น โดยดึงกลุ่มวัยรุ่นมาเป็น Presentor ไม่ว่าจะเป็น WeChat , Kakoa, Beetalk และคิดว่ากลุ่มวัยรุ่นน่าจะเป็นเป้าหมายใช้ แต่ในความเป็นจริงแอพเหล่านั้นแค่ลองเท่านั้น ส่วนใหญ่ก็ครองใจเด็กๆ ไม่ได้เพราะเพื่อนไม่มีใครใช้ ทุกคนก็คงคิดว่า Line เป็น Chat ที่เด็กๆ ใช้มากที่สุดแต่สิ่งที่ผมพบคือ Facebook Messenger คือ App Chat ที่วัยรุ่นใช้มากที่สุดส่วนไลน์ เอาไว้คุยกับครู และพ่อแม่ ส่วนใหญ่เพื่อนๆ ไม่ค่อยคุยกันใน Line เด็กๆ บอกว่า Line น่าเบื่อเลยทีเดียว มีเด็กไทยบ้างที่ใช้ Snap Chat เพราะความสนุกของตัว Feature และอาจารย์สมัยนี้ชอบสั่งงาน ส่งการบ้านผ่าน Line Group ความน่าเบื่อยิ่งทวีความรุ่ณแรงเข้าไปอีกสำหรับเด็ก

ใช้แอพอะไรในมือถือบ้าง

แอพใหม่ๆ ก็อยากใช้นะแต่ เมมเต็ม ในคำถามตอนนั้นผมถามเด็กๆ ว่าใช้แอพอะไรบ้างที่นอกจาก App Social พื้นฐาน Twitter, YouTube , Facebook Google ส่วนมากก็เป็นแอพแต่งภาพ แต่พอถามถึงแอพใหม่ๆ ที่เด็กน่าจะใช้อย่าง Joox กลับได้คำตอบหลายคนว่า เมมในโทรศัพท์เต็ม การลงแอพใหม่ๆ เป็นเรื่องยากสำหรับเขา ไม่ได้เจอคนสองคนนะครับ เจอเด็กที่มีปัญหาแบบนี้เยอะพอสมควร เป็นบัญหาที่เราไม่เคยได้คิดเลยในมุมนี้

บริบทเชิงพฤติกรรมของเด็กกลุ่มสัญชาติดิจิทัล ยังมีกำแพงและข้อจำกัดอีกหลายๆ ข้อที่น่าสนใจไว้มาเล่าในโอกาสถัดไปนะครับ สื่งสำคัญของการหา Insights อาจจะต้องเดินเข้าไปในใจแล้วฟังให้ได้ยินในความต้องการและข้อจำกัดบางอย่าง ผมจะบอกว่าถึงแม้จะ Big Data ข้อมูลบางอย่างก็อาจจะไม่สะท้อนออกมาก็ได้นะครับ หากสนใจกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้นลองอ่านบทความ Digital Native คือใคร