สิ่งที่เราได้ยินบ่อยๆ การวางแผนกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ที่มักตั้งเป้าหมาย KPI หลายครั้ง KPI ที่มีการตั้งการวัดความสำเร็จด้วย Conversion Rate คือการวัด % การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรก ของการดำเนินแผน ว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่เป้าหมายนับเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของกิจกรรม
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายขึ้น อย่างลูกค้ารายนึงของผมต้องการยอดการสมัครสมาชิกรับข่าวสารผ่านช่องทางอีเมล ผมวางแผนด้วยการ ซื้อสื่อโฆษณาเพื่อให้เป้าหมายเห็นแล้วคลิกมายังเว็บไซต์ซึ่งเตรียมแบบฟอร์มการสมัครรับอีเมลไว้แล้ว เมื่อเป้าหมายสมัครสมาชิกรับข่าวสารก็ถือเป็นการสิ้นสุดกิจกรรม นับว่าสำเร็จ ถ้าคน 1 คนคลิกมาแล้วลงทะเบียนนับข่าวสารแบบนี้ Conversion Rate จึงถือเป็น 100% แต่ปกติแล้วเราจะมีคนคลิกโฆษณาเป็นจำนวนหลายร้อยหลายพัน ไม่ใช่ทุกคนที่ยอมให้อีเมลเพื่อรับข่าวสารเพราะฉะนั้นค่า Conversion Rate ก็จะต่ำลงเรื่อยๆ ตามความสำเร็จที่ลดลง
ในธุรกิจอีคอมเมิร์ช วัตถุประสงค์สำคัญของธุรกิจก็คือ การซื้อสินค้า เมื่อลูกค้าเข้ามาถึงร้านแล้วทำยังไงให้ลูกค้าไปถึงเป้าหมายให้ได้นั้นหมายถึงการได้เงินจากการขายของซึ่งไม่แปลกที่ใครๆ ก็อยากให้ Conversion Rate สูงๆ เพราะหมายถึงร้านค้าออนไลน์จะขายดิบขายดีมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ
CRO เป็นศัพท์สำคัญของการทำการตลาดอีคอมเมิร์ช Conversion Rate Optimization เป็นหน้าที่ของนักการตลาดดิจิทัลต้องทำงานร่วมกับนักพัฒนาเว็บไซต์เพื่อช่วยให้ Performance การทำงานส่วนหน้าบ้านที่สัมผัสกับผู้ใช้โดยตรงต้องทำให้ลูกค้าซื้อของได้ง่ายที่สุด รวดเร็วที่สุด ตัดสินใจได้ง่ายที่สุด ทีนี้ก็ต้องเชื่อมโยงกับศาสตร์ในการออกแบบ และการวางแผนการทำงานของระบบเว็บไซต์ หรืออื่นว่าด้วยเรื่องการวาง UserInterface ที่เอื้อต่อการใช้งานให้มากที่สุด เรามักได้ยิน Usability และ User Experience อยู่เสมอ
ยกตัวอย่าง ผมจะต้องออกแบบการทำงานของปุ่มให้เห็นเด่นชัด และเรียกร้องต่อการกระทำ Call to Action รวบรัดขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็วใช้เทคนิคต่างๆ ของการพัฒนาเว็บไซต์มาช่วยอันนั้นเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาไปแต่อย่าลืมโจทย์ของเราคือต้อง “ฟิ้ว ฟึ่บ ปิ๊ปๆ” เร็วง่ายได้ตังค์ อีกตัวอย่างที่หลายท่านคุ้นชินขึ้นหน่อยหากท่านเคยจองตัวเครื่องบินของสายการบินต่างๆ ผ่านออนไลน์ซึ่งผมเป็นลูกค้าของสายการบิน NokAir และ AirAsia บินภายในประเทศอยู่ประจำหากสังเกตุขึ้นตอนการจองและการทำงานของเว็บไซต์ทั้งสองลองถามตัวเองว่าบริการบนหน้าเว็บของใครใช้ง่ายและรวดเร็วกว่ากัน ซึ่งจากการพิสูจน์ด้วยตัวเอง้วว่าเราจะใช้เวลาในการจองตั๋วเครื่องบินของ AirAsia เร็วกว่านกแอร์นั่นหมายถึงลูกค้าสะดวกสบายและทำรายการได้เร็วกว่า ซึ่งอาจเท่ากับเม็ดเงินจากการสูญเสียทีาน้อยลงตามมาด้วยครับ
เมื่อเราเข้าใจ CRO แล้วทีนี้นอกจากการวิเคราะห์เรื่องสินค้าราคา คู่แข่งแล้วลองมานั่งคำนวณ วิเคราะห์กันหน่อยครับว่า การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ของเราใช้เวลาเยอะมากไป หรือยุ่งยากเกินไปรึเปล่า ถ้ายุ่งยากคิดง่ายๆ ครับทำยังไงให้การซื้อของตัดสินใจมันง่ายฝุดๆ ได้บ้าง