Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

Push Factors และ Pull Factors ทฤษฏีง่ายๆ ให้ลูกน้องอยู่กับเรายาวๆ

5 sec read

มีคำถามพูด เปิดวงสนทนากันในฐานะเจ้านายที่มีลูกน้องอยู่หลายคน ที่พูดกันบ่อยครั้งเหมือนๆ กันคือ “ทำใมเด็กสมัยนี้ไม่ค่อยทนเอาซะเลย” เปลี่ยนงานบ่อยๆ แถมรับภาวะความกดดันก็ไม่ได้ ไม่เหมือนกันคนรุ่นก่อน ถ้าพูดอย่างเป็นกลางก็มีทั้งจริง และไม่จริงสองด้านตามธรรมชาติของมุมมองแหละครับ

เด็กสมัยใหม่เป็นเด็กที่เต็มไปด้วยโอกาส อันนี้เราก็เห็นๆ กันอยู่ เกิดบริษัท Start Up ตั้งมากมายและเศรษฐีใหม่ก็มีแนวโน้มอายุน้อยลง ทำให้เด็กสมัยใหม่พร้อมจะวิ่งเข้าหาโอกาสที่เข้ามาได้ง่ายๆ ข้อมูลเปิดกว้าง ผมเคยอ่านข้อมูลนึงเด็กสมัยใหม่ จบใหม่ก็มักจะคิดว่าจะอยู่บริษัทที่ทำงานที่แรกไม่เกินสองปี

จริงๆ ต้องมองเป็นความท้าทายของเจ้านายและ HR นะครับที่จะต้องปรับตัวดึงคนเหล่านี้ให้เติบโตไปกับองค์กรมีแรงดึงดูดใจสร้างไฟทำงานไปพร้อมกัน เด็กจะอยู่หรือไปแน่นอนว่าขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง แต่เด็กจะไปไม่ไปบริษัทก็มีส่วนนั่นก็ต้องบอกว่ามันมีทั้งสองตัวแปรที่ทำให้คนๆนึง จะอยู่หรือไป ผมเองก็เพิ่งเรียนรู้ในเรื่อง Push Factors Vs Pull Factors ในการสร้างสมดุลให้พนง. และลูกน้องอยู่กับบริษัท และหัวหน้าไปนานๆ

Push Factors Vs Pull Factors เป็นปัจจัยผลักและดัน ที่ขึ้นภายในบริษัท
Push Factors – คือปัจจัยผลักที่เกิดขึ้นจากภายในบริษัท หรือองค์กร
Pull Factors – คือปัจจัยดึง การดึงที่เกิดจากภายนอกองค์กร

ยกตัวอย่าง น้อง A พนักงานหนึ่งคนเรา เกิดอยากจะลาออก ก็อาจจะมาจากปัจจัยการดึงจากภายนอกองค์กรก็เป็นได้ลองนึกว่าถ้า บริษัทใหม่ให้เงินเดือนเยอะกว่า สังคมดีกว่า ท้าทายกว่า หลายเหตุผลที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อดึงคนออกจากองค์กร แล้วหากปัจจัยผลักภายในองค์กรเรามีสูงด้วยแล้ว บริษัทปัจจุบันเงินเดือนไม่ขึ้น สังคมไม่ดี ทำแต่งานน่าเบื่อ น้อง A ก็ต้องออกไปแน่ๆ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยดึงนั้น Pull Factors มีแรงเยอะขนาดไหน

เห็นแบบนี้เราก็ต้องทำให้ปัจจัยผลักของบริษัทและองค์กรเราให้น้อยที่สุด และไม่ให้เกิดปัจจัยดึง แต่ในความเป็นจริง บริษัทเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยดึงจากข้างนอกได้ ไม่สามารถห้ามที่จะมีบริษัทอื่นมาขอเสนอเงินเดือนที่สูงกว่าหรือ ห้ามดึงพนง. ออกไป เราจึงต้องมาทำในสิ่งที่เราทำได้คือ จัดการกับ Push Factors ปัจจัยผลัก

ทำให้ผมก็ต้องกลับมาดูว่าอะไรที่จะผลักน้องๆ ผมออกไปจากบริษัทบ้าง อาจจะเป็นตัวผมเอง คือเจ้านาย คนสมัยนี้ชอบเบื่อเจ้านายเป็นคำตอบของการลาออกบ่อยครั้ง ถ้าการ Exit Interview บอกว่าเบื่อหัวหน้า ผมก็ต้องกลับมาปรับปรุงตัวเองให้เก่งยิ่งขึ้น หรือลดการใช้อารมณ์ในการทำงานเพื่อรักษาสัมพันธ์ที่ดีไว้

3 สาเหตุที่ พนง. ลาออกมาที่สุด

1. องค์กร
2. ลักษณะงาน
3. หัวหน้างาน
ข้อ 3 เป็นหัวข้อที่พนักงานจะลาออกมากที่สุด ตั้งใครเป็นหัวหน้าคงต้องคิดให้ถี่ถ้วนซะหน่อยเพราะอาจจะกลายเป็นคนไล่คนออกซะเอง

แรงผลักไม่มากแรงดึงไม่เยอะ สบายใจได้ครับว่ายังไงลูกน้องก็คงไม่ออก ลองสำรวจบริษัท ลูกน้องดู และตัวคุณเองดู เหมือนผมได้สำรวจอะไรมากขึ้นจากหลักการคิดง่ายๆ นี้เหมือนกัน