Niwat Chatawittayakul คอลัมนิส และนักธุรกิจ ปัจจุบันทำธุรกิจด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาดและโฆษณาดิจิทัล อีกฝั่งสวมหมวกบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีโดย มุ่งความสนใจไปที่ BigData Blockchain และ Digital Transformation

ทิปส์ธุรกิจ : ประสบการณ์วิธีติดต่อขอ ATM วางหน้าร้านเพื่อลดต้นทุนกิจการ

7 sec read

ในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จหรืออยู่รอดได้นั้น การวางกลยุทธ์ทางการเงินก็เป็นอีกการบริหารจัดการหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ เพราะธุรกิจอยู่ได้กับผลประกอบการ ที่เป็นกำไร ยิ่งกำไรสูงก็หมายถึงกิจการดี แต่เมื่อต้องการกำไรสูงๆ นั่นหมายถึงต้นทุนของการจัดการที่ต่ำ ทำให้ Gap ของช่วงกำไร Margin สูงขึ้นตามไปด้วย หลายองค์กรหรือธุรกิจขนาดเล็กเลยต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนอย่างยิ่งยวด ใครบริหารดีก็ยิ่งกำไรดี แต่ถ้าเป็นธุรกิจเล็ก ร้านค้าเล็ก กิจการขนาดย่อมล่ะ เราจะลดต้นทุนจากอะไรได้บ้าง ก็ลดได้จากการหาต้นทุนสินค้าที่ถูกที่สุด อาจซื้อในบริมาณที่มากเพื่อให้ได้ราคาต่อรองที่เหมาะสม ลดของเสียของกิจการ การลดของเสียก็เหมือนกันออมครับ เพราะเมื่อของเสียก็เหมือนทิ้งเงินไปเปล่าๆ หรือการจัดการด้านภาษี มีวิธีการลดต้นทุนหลายแบบซึ่งแตกต่างไปตามประเภทธุรกิจและกิจการนั้นๆ ครับอันนี้ต้องว่าไปตามแต่ละกรณีถ้ามีโอกาสจะเล่าให้ฟังนะครับ แต่ในบล็อกนี้ผมจะเล่าประสบการณ์ที่เคยขอตู้ ATM มาลงที่หน้าร้านเพื่อที่ผมจะสามารถลดต้นทุนค่าเช่าของกิจการผมได้ ทำให้ปัจจุบันนี้ผมแทบจะไม่เสียค่าเช่าที่เลยเพราะมีคนมาจ่ายแทนให้ subsidies cost ในที่นี้คือธนาคารนั่นเอง

0fe08-153866

ตั้งแต่ผมเริ่มวางแผนเปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ร้านเวชสำอางค์และอาหารเสริมเล็กๆ ขนาด 14 ตารางเมตร ทำเลที่ดีมากใกล้รถไฟฟ้าสถานีสุทธิสาร (ร้าน All B&H – All Beauty and Healthy) ไปอุดหนุนกันได้นะครับ ผมคิดตั้งแต่ก่อนตั้งร้านด้วยซ้ำว่าด้วยต้นทุนของค่าเช่าในทำเลแบบนี้นั้น ราคาสูงไปตามพื้นที่ เมื่อราคาสูง ความเสี่ยงของกิจการจากต้นทุนค่าเช่าที่ก็สูงตามไปด้วยยิ่งสำหรับกิจการใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักด้วยแล้ว มันคือความเสี่ยงที่น่ากลัวสำหรับเจ้าของกิจการ ทำเลสวยไม่ได้หมายความว่าคุณจะขายดีเสมอไปนะครับ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างที่เป็นความเสี่ยงร่วม ผมและหุ้นส่วนเราคิดเลยครับว่า เราต้องหาคนมาจ่ายแทนลดต้นทุนของกิจการให้ได้ ซึ่งเรามองเหมือนที่หลายคนมองคือการเอา ATM มาวางในพื้นที่ร้าน โดยรับค่าเช่ามาลดต้นทุนของกิจการ ซึ่งเรามีโอกาสเป็นไปได้สูงผมสรุปเป็นขั้นๆ ตามนี้นะครับ เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังอยากจะทำเช่นเดียวกัน

ประเมินพื้นที่กันก่อน

ก่อนอื่นต้องประเมินพื้นที่กันก่อนเป็นอันดับแรกเลยครับ วางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เลยครับว่าจากพื้นที่ของเราเนี่ย เราจะสามารถนำพื้นที่ส่วนไหน มาวางตู้ได้บ้าง และวางได้กี่ตู้ อันนี้ก็ต้องตัดสินใจกันเองนะครับว่าจะวางกันกี่ตู้ เพราะว่าตู้เหล่านี้มันก็เป็นการเสียพื้นที่หน้าร้านของคุณไปเหมือนกันครับ ทำให้ลูกค้ามองมาในร้านได้น้อยลง เห็นสินค้าได้น้องลง ก็มีผลในมุมหนึ่งกับยอดขายเช่นกัน เราต้องเสียสละหน้าร้านให้กับตู้กดเงิน ซึ่งในข้อต่อไปผมจะเล่าเรื่องขนาดของตู้ว่ามีกี่ไซส์บ้าง จะได้บริหารพื้นที่ร้านกันถูก แต่ในเบื้องต้นเราต้องประเมินพื้นที่ของเราให้ได้ก่อน ถ้าหน้าร้านเล็กก็ไม่แนะนำให้หาตู้ ATM มาลงเปลี่ยนไปลดต้นทุนด้วยวิธีการอื่นแทน

ขนาดของตู้ ATM

มาถึงขนาดของตู้ ATM ครับ ผมว่าเราทุกคนคุ้นชินกับตู้ เอทีเอ็มกันอยู่แล้วล่ะครับมีอยู่ในที่ชุมชนหน้าธนาคารสารพัดตู้ เมื่อก่อนมีแต่ตู้กดเงินเดี๋ยวนี้มันทั้งฝาก อัพสมุด ถอนและฝากในตู้เดียวกัน และมีสารพัดขนาดด้วย ตู้มีหลายขนาดครับ มีตั้งแต่เล็กสุดๆ หน้ากว้าง 60-80 เซนติเมตร ไปจนถึงหน้ากว้าง 1.5 เมตร หรือใหญ่กว่า 2 เมตรก็มี มีทั้งแบบในที่ร่มและกลางแจ้ง ส่วนความลึกคุณต้องเสียอย่างน้อยสุดที่ต้องเสียเลยคือ 80 เซนติเมตรครับ ถ้าเป็นตู้โครงสร้างใหญ่ๆ ก็อาจจะต้องเสียความลึกประมาณ 1.5 เมตรครับ นี่เป็นขนาดประมาณนะครับ ไม่มีขนาดมาตรฐานที่แน่นอนครับเพราะแต่ละธนาคารมีการออกแบบตู้แตกต่างกันไป อย่างขนาดที่ผมวางของธนาคารกสิกรไทยเป็นตู้ขนาดใหญ่ 2 ตู้ฝากเงินและเอทีเอ็มมีโครงสร้างตู้ครอบอีกชั้นหนึ่ง ใช้พื้นที่หน้า 1.5 เมตรและลึก 1.2 เมตรครับ และถ้าเป็นขนาดตู้แบบ Out Door วางกลางแจ้งแบบนี้ต้องใช้พื้นที่เยอะครับ อย่างต่ำก็ 6 ตารางเมตรโดยประมาณ (เล่ารายละเอียดในข้อถัดไป)

1246589747

โมเดลตู้-ATM-ตู้เอทีเอ็ม-6

แบบของตู้ผมขอแยกเป็นสองแบบใหญ่ๆ

1. แบบในร่ม (In Door) แบบในร่มนึกถึงตามหน้า 7-11 ที่ตัวตู้โผล่หน้าออกมานอกร้านและตัวเครื่องอยู่ภายในร้าน และอีกแบบคือตู้แบบเต็มเครื่องทั้งตัวตั้งตรงไหนก็ได้ นึกถึงบริเวณทางไปห้องน้ำห้างหรือทางออกลานจอดรถครับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นตู้เดี่ยว แต่บางแบงค์ก็จะเป็นตู้คู่ก็มีครับ ชนิดฝากได้ถอนได้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ จำนวนผู้คน และธนาคารพิจารณาครับ

2. แบบกลางแจ้ง (Out Door) เป็นตู้แบบ Stand Alone เลยครับแยกออกมาเดี่ยวๆ ที่บ้านผมที่สงขลาตลาดเกาะยอ ผมมีอยู่หนึ่งตู้ตั้งอยู่กลางแจ้งแบบเดี่ยวๆ ไม่ขึ้นกับใคร แบบนี้ให้นึกถึงตามปั้มต่างจากหวัดถนนเส้นๆ หลัก หรือหน้าโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ แบบนี้ธนาคารและผู้ให้เช่าต้องทำหลายอย่างครับต้องเคลียพื้นที่เทพื้นปูน ขอมาตรไฟกับทางการไฟฟ้า เตรียมพื้นที่ให้ทางธนาคารนำตู้แบบนี้มาลงครับ ซึ่งตู้จะมีไฟดาวไลท์ในตัว ห้องคอนโทรลด้านหลัง มีระบบทำความเย็นระบบแผงไฟในตัวเป็นตู้ขนาดใหญ่ กินพื้นที่อย่างต่ำ 5-6 ตารางเมตรครับ

อะไรคือสิ่งที่ธนาคารจะพิจารณา

ไม่ใช่ทุกคนที่ขอตู้เอทีเอ็มมาแล้วจะได้นะครับ แบงค์มีการพิจารณาคำขอค่อนข้างละเอียด แต่ก็ไม่ได้ยากซะทีเดียวเพราะทางธนาคารมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรงในแต่ละปีมีการตั้งเป้าจำนวนตู้ที่ต้องเพิ่มขึ้นอยู่แล้วครับ ซึ่งทางทีมต้องทำการหาทำเลในการจัดวางตู้เป็นปกติ แถมทางธนาคารยินดีด้วยซ้ำถ้ามีคนยื่นคำขอให้พิจารณาครับ แต่การพิจารณาของทางธนาคารมีสิ่งที่พิจารณาหลักตามนี้ครับ ในรายละเอียดทั้งหมดคงต้องถามทางธนาคารแต่สิ่งที่เป็นเรื่องใหญ่ๆ สองสามข้อพอจะบอกได้

1. Traffic ทีมประเมินของทางธนาคารจะประเมินจากทราฟฟิกของประชากรในพื้นที่มาเป็นอันดับแรกๆ ร้านหรือพื้นที่ของเรามีคนเดินผ่านมากน้อยแค่ไหน ในช่วงเวลาใดบ้าง ยกตัวอย่างที่ร้าน All B&H ของผมอยู่ติดรถไฟฟ้าใต้ดินสุทธิสารประตู 3 มีทราฟฟิกหน้าแน่นมาก 3 ช่วงเวลาคือ เช้าผู้คนเดินทางไปทำงาน ช่วงกลางวันเนื่องจากพื้นที่นี้เป็นตลาดขายสินค้าและอาหารประกอบกับมีตึกออฟฟิตอยู่หลายตึก พนง. เจ้าหน้าที่ที่ทำงาน จะมาทานข้าวซื้อของกันเยอะมาก และตอนเย็นผู้คนเดินทางกลับบ้านครับ ตอนถ่ายภาพถ่ายตอนช่วงที่คนเยอะที่สุดแนบคำร้องไปนะครับ

2. พื้นที่ที่ติดตั้งตู้ ธนาคารค่อนข้างซีเรียสเรื่องพื้นที่ติดตั้งตู้ครับ ต้องดูเรื่องความสะดวกและความปลอดภัย และความเด่นชัดครับ ตู้เหล่านี้อยู่ได้ด้วยยอดการกดการใช้งานของลูกค้า ธนาคารต้องการพื้นที่ที่เด่นที่สุด ในจุดที่เป็นมุมแจ้ง สายตาผู้คนมองเห็นได้สะดวก และเรื่องแสงสว่างและการดูแล ก็จารณาด้วยเหมือนกัน เพราะจะมีเจ้าหน้าที่มาเติมเงิน ซ่อมแซมอยู่ตลอด

3. คู่แข่งในระยะ 500 เมตร เรื่องตู้ถือเป็นการแข่งขันอย่างหนึ่งของธุรกิจธนาคาร ความสะดวกสบายของผู้ใช้ถือเป็นตัวเลือกอย่างหนึ่งในการเป็นลูกค้าธนาคารนั้น และเวลาที่ทางธนาคารพิจารณาก็จะดู ตู้ของตัวเอง และคู่แข่ง การมีตู้ของธนาคารอยู่แล้ว ใช่ว่าเค้าจะไม่วางตู้เพิ่มนะครับ ขึ้นอยู่กับทราฟฟิก และบางครั้งก็เป็ฯการดักคู่แข่งก็มี

การติดต่อธนาคาร เพื่อยื่นคำร้องขอตู้มาติดตั้ง ยื่นให้มากกว่าหนึ่งรายครับ เพราะไม่ใช่จะโชคดีได้เลย ตอนที่ผมติดต่อผมต้องขอตั้งสามธนาคาร และต่อรองตั้งนานกว่าจะตกลงปลงใจและทางธนาคารอนุมัติในที่สุด และการติดต่อสองธนาคารนอกจากข้อดีเรื่องกันเหนียวแล้วยังมีข้อดีเรื่องการต่อรองด้วยครับ ธนาคาร A ให้ผมตั้งเท่านี้ ขอมากกว่านิดนึงได้มั้ย ทำเลผมดีจริงๆ เรื่องเทคนิคการต่อรองค่าเช่าวางตู้ ขึ้นอยู่กับวาทะศิลป์ของแต่ละท่านครับ ว่ามีเทคนิคอย่างไร แต่เราก็ควรรู้ราคาในใจ และควรรู้ราคาในละแวกใกล้ๆ ด้วยก็ดีครับ เพราะฐานค่าเช่าพื้นที่นั้นมีความแตกต่างกันสูงครับ ตั้งแต่หลัก 6500 ถึง 2-3 หมื่นก็เคยได้ยินครับ ลองเอาไปคิดดูคุ้มค่ากับการที่เสียพท้นที่ไปมั้ย และมีช่องทางอื่นลดต้นทุนธุรกิจอีกหรือเปล่าลองดูความคุ้มค่าดูนะครับ

ต่อรอง อย่างไรให้ได้ราคา